หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
ช่องทางรับฟังความคิดเห็น
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
หน้าหลัก
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
แผน
รายงาน
ระเบียบ
บริการประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง
Bankrang Subdistrict Administrative Organization
 
NEWS

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ อบต.บ้านกร่าง อ.เมือง จ.พิษณุโลก ค่ะ ^_^
 
 
ข่าวสาร
 


 
ประชาคมแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 - 2570) ระดับตำบล  
 

🔰✅ข่าวสารกิจกรรม อบต.บ้านกร่าง‼️
✅💹ในวันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 น. ร้อยตำรวจเอก เอกธนัช เจริญสุข นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง เป็นประธานการ ประชุมประชาคมแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 - 2570) ระดับตำบล พร้อมด้วยคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกับประชาคมท้องถิ่น จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 - 2570) เพิ่มเติม ครั้งที่ 1/2565 และเปลี่ยนแปลง ครั้งที่ 1/2565 เพื่อเสนอคำขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบเงินอุดหนุนเฉพาะกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนตำบล) ต่อไป ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ได้ประกาศใช้แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 - 2570) เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 ไปแล้วนั้น
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 - 2570) เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง ครั้งที่ 1/2565  เพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นประจำปีงบประมาณรายจ่ายประปี พ.ศ.2567
  
สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง จะดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 - 2570) และการเพิ่มเติมแผนพัฒนาท้องถิ่น ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0810.3/ว 7467 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2563 แจ้งแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (พ.ศ.2566 - 2570) กำหนดการประชาคมระดับตำบล สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบล ให้ผู้บริหารท้องถิ่นประกาศให้มีสัดส่วนประชาคมท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีจำนวนผู้เข้าร่วมประชาคมท้องถิ่นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสัดส่วนประชาคมท้องถิ่นทั้งหมด ทั้งนี้ให้นับรวมถึงจำนวนผู้ที่มาเข้าร่วมประชาคมท้องถิ่นทั้งหมด ดังนั้น เพื่อให้การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 - 2570) และการเพิ่มเติมแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อบรรลุเป้าหมายเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐและมีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 - 2570) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง จึงได้ประกาศสัดส่วนประชาคมระดับตำบล และเชิญเข้าร่วมการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นดังต่อไปนี้
   1.ประชาชนในตำบลบ้านกร่าง ผู้เข้าร่วมประชุมประชาคม
   2.คณะผู้บริหาร พนักงานส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกคน
   3.สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลทุกคน 12 คน
   4.กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน/ผู้อำนวยการ รพ.สต./ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ 10 คน
   5.หัวหน้าส่วนหรือตัวแทนราชการ/รัฐวิสาหกิจที่มีหน่วยงานตั้งอยู่ในพื้นที่ 5 คน
   6.คัดเลือกจากอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)/สมาชิกอาสาป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.)/คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน/กลุ่มอาชีพต่างๆในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล 15  คน

ผลจากการมีส่วนร่วม
     องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง  ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยมีแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
     นอกจากนี้ อบต.บ้านกร่าง  ยังมีการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยมีประชาชนเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการในการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา ท้องถิ่นให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ในส่วนของปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของ อบต.บ้านกร่าง ได้แก่
   1) ประชาชนยังไม่ให้ความสำคัญในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งในการประชาคมท้องถิ่น ในแต่ละครั้ง มีประชาชนเข้าร่วมจำนวนน้อย ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาความต้องการของประชาชน ไม่เพียงพอต่อการจัดทาแผนพัฒนาท้องถิ่น
   2) ประชาชนบางส่วนยังขาดความรู้ ความเข้าใจในบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
   3) ประชาชนบางส่วนยังมีข้อสงสัยในข้อมูลการเสนอปัญหา ความต้องการของประชาชนในการ จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น และขาดความเชื่อมั่นต่อการเสนอข้อมูลเพื่อนำไปจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหา อุปสรรค ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของของ อบต.บ้านกร่าง
     เพื่อให้เกิดการพัฒนา อย่างเป็นรูปธรรม สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง การรายงานผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอแก่ประชาชน ตลอดจนปัญหาข้อจำกัดในการพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น ด้านระเบียบกฎหมาย ด้านงบประมาณ เป็นต้น จากการศึกษาวิจัยพบว่า มีข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา อุปสรรค ในการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของของ อบต.บ้านกร่าง ได้แก่
   1.ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมเกี่ยวกับการให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นหรือการพัฒนาท้องถิ่นในด้านต่างๆ ให้มากขึ้น เช่น การมีเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ในหมู่บ้านอย่างสม่ำเสมอ ศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่นภายในหมู่บ้าน เป็นต้น
   2.การสร้างจิตสำนึกให้ประชาชน เห็นความสำคัญในประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้ เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นจะสำเร็จได้นั้น ต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชน
   3.การสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำ แผนพัฒนาท้องถิ่น และแจ้งประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่นให้มีความชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้
   4.การเข้าร่วมประชุมประชาคมท้องถิ่น ควรมีกิจกรรมที่สร้างแรงจูงใจเพื่อให้ประชาชน ได้เข้ามาร่วมมากขึ้น โดยมีกิจกรรมอื่นๆ สอดแทรก เช่น การให้ของที่ระลึกแก่ประชาชนที่เข้าร่วมประชุม ประชาคมท้องถิ่น การให้ของรางวัลแก่ผู้แสดงความคิดเห็นหรือแนวทางที่เป็นประโยชน์แก่การจัดทำ แผนพัฒนาท้องถิ่นหรือการพัฒนาท้องถิ่นในด้านต่างๆ เป็นต้น

การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน
     องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการตัดสินใจไม่เป็นหลักประกันว่ากระบวนการ การมีส่วนร่วมของประชาชนจะประสบความสำเร็จ ของกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนมิใช่เพียงการจัดดำเนินการให้มีการมีส่วนร่วมเท่านั้น หรือการจัดการมีส่วนร่วมแล้ว ประชาชนเห็นด้วยกับโครงการ เพราะมีกลุ่มที่่ไม่เห็นด้วยไม่่ได้อยู่ ในกระบวนการมีส่วนร่วม ดังนั้น ความสำเร็จของกระบวนการมีส่วนร่วม คือความสามารถในการจัดการให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดย เฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการหรือการตัดสินใจ ซึ่งการมีส่วนร่วม อย่างกว้างขวางนำมาซึ่งข้อตกลงร่วมกันและการตัดสินใจที่รอบคอบมาก ขึ้นและก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของ ประชาชนขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถใน การบริหารจัดการ
กระบวนการมีส่วนร่วม
    ขั้นตอนการวางแผนการมีส่วนร่วมของประชาชนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ประสิทธิผลควรมีการวางแผน
ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักคือ
- ขั้นเตรียมการ
- ขั้นวางแผนการมีส่วนร่วม
- ขั้นนำแผนไปสู่การปฏิบัติ ขั้นตอนหลักคือ ขั้นเตรียมการ ขั้นวางแผนการมีส่วนร่วม ขั้นนำแผนไปสู่การปฏิบัติ
ขั้นวางแผนการมีส่วนร่วม
  1) ระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประเด็นที่ห่วงกังวล
  2) คาดการณ์ระดับของการโต้เถียงและความไม่ลงรอยของประเด็น หรือโครงการ
  3) ระบุวัตถุประสงค ์ของการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการตัดสินใจ
  4) ระบุเงื่อนไขพิเศษของชุมชนหรือประเด็นที่อาจกระทบต่อรูปแบบการมีส่วนร่วม
  5) การเลือกรูปแบบและกิจกรรมการมีส่วนร่วมที่่สอดคล้องกับสถานการณ์ตามขั้นตอนการตัดสินใจ
  6) เขียนแผนการมีส่วนร่วม ขั้นนำแผนไปสู่การปฏิบัติ วางแผนการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรมการมีส่วนร่วม

 

ข่าว ณ. วันที่ 28 พ.ย. 2565 เวลา 15.33 น. โดย คุณ ธัญภัคนันท์ อินอ่วม

แก้ไขข่าว ณ. วันที่ 22 มี.ค. 2566 เวลา 16.44 น. โดย คุณ ธัญยาลักษณ์ ตุ่นป้อม

ผู้เข้าชม 231 ท่าน

 
 
 
รูปชุดก่อน
รูปชุดถัดไป
 
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

ลำดับภาพที่ 1/28

ลำดับภาพที่ 2/28

ลำดับภาพที่ 3/28

ลำดับภาพที่ 4/28

ลำดับภาพที่ 5/28

ลำดับภาพที่ 6/28

ลำดับภาพที่ 7/28

ลำดับภาพที่ 8/28

ลำดับภาพที่ 9/28

ลำดับภาพที่ 10/28

ลำดับภาพที่ 11/28

ลำดับภาพที่ 12/28

ลำดับภาพที่ 13/28

ลำดับภาพที่ 14/28

ลำดับภาพที่ 15/28

ลำดับภาพที่ 16/28

ลำดับภาพที่ 17/28

ลำดับภาพที่ 18/28

ลำดับภาพที่ 19/28

ลำดับภาพที่ 20/28

ลำดับภาพที่ 21/28

ลำดับภาพที่ 22/28

ลำดับภาพที่ 23/28

ลำดับภาพที่ 24/28

ลำดับภาพที่ 25/28

ลำดับภาพที่ 26/28

ลำดับภาพที่ 27/28

ลำดับภาพที่ 28/28
<<
>>
X
 
 
 
 
 
 
   
 
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ : 055-298-092 โทรสาร : 055-298-092 ต่อ 15
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2551 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง
จำนวนผู้เข้าชม 1,785,106 เริ่มนับ 30 ธ.ค. 2564
จัดทำโดย NAXsolution.com
รับเรื่องร้องเรียน
โทร : 081-688-2482
  นโยบายคุกกี้ | แผนผังเว็บไซต์
  Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10